วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

น้ำตกหมอกฟ้า








    อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เดินทางไปตามถนนสายแม่มาลัย-ปาย กิโลเมตรที่ ๑๙ แยกซ้ายเข้าไปเป็นทางลูกรังอีกประมาณ ๒ กิโลเมตรจึงจะถึงน้ำตก เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่มีน้ำไหลตลอดทั้งปีและมีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ในตอนเช้าจะมีแสงแดดส่องถึงลงมาสะท้อนกับสายน้ำสีขาวทำให้เกิดเป็นรุ้งประกายสวยงามมาก ที่หน้าผาจะมีมอส เฟิร์นเกาะสีเขียวชื้น และหากมาในช่วงฤดูหนาวใบไม้ร่วง จะให้บรรยากาศที่ดีไปอีกแบบ

    จากถนนหลักเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นทางลูกรังสลับคอนกรีต จากที่จอดรถเดินถึงตัวน้ำตกประมาณ ๓๐๐ เมตร และบริเวณริมน้ำตกมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติประมาณ ๔๐๐ เมตร และที่หน่วยฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ออกแบบได้กลมกลืนกับพื้นที่และสวยสบาย ๆ มีบ้านพัก ๔ หลัง และมีเต็นท์ให้เช่า ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ คนละ ๒๐ บาท ผู้ที่เดินทางมาเองสามารถโดยสารรถสองแถวสายแม่มาลัย-สบเปิง




แผนที่ไปน้ำตกหมอกฟ้า





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ดอยอ่างขาง เชียงใหม่










ดอยอ่างขางเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนเส้นทาง หลวง หมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณ กิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือ เข้า บ้านยาง ที่ตลาดท่าคา เข้าไปอีกประมาณ 26 กิโลเมตร  เป็นทางลาดยาง บางช่วง และ ค่อนข้างสูงชัน ก็จะถึงบริเวณดำเนินการ ของสถานีเกษตรหลวง ดอยอ่างขาง ซึ่งมี โครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งาน สาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหา ผลิตผล ที่มีคุณค่าพอ ที่จะทดแทนการปลูกฝิ่น ของชาวเขา ภายในโครงการหลวง สถานีเกษตรอ่างขางจะมีรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง จำนวน 74 ห้อง บริหารงานโดยเอกชนบริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 74 ห้อง บริหารงานโดยเอกชนบริการแก่นักท่องเที่ยว ติดต่อที่ รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง 1/1 หมู่ 5 บ้านคุ้ม ต.แม่งอน อ.ฝาง โทร.(053) 450110-19 หรือที่กรุงเทพฯ โทร.(02) 2649711 นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าโครงการหลวงยังมีที่พักและร้านอาหารของเอกชนไว้บริการนักท่องเที่ยวคือ บ้านพักคนเมือง จำนวน 11 หลัง ดยติดต่อนางจันทร์เที่ยง อุปนันท์ โดยติดต่อ นายรักสิทธิ์ เพชรดี สถานีเกษตรอ่างขาง 104 ต.แม่งอนกิ่ง อ.ไชยปราการ เชียงใหม่ โทร.450008 อ่างขางวิลล่า โทร.450010 และบ้านพักของกรมป่าไม้ โทร.450017


      ปัจจุบันดอยอ่างขางได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขาซึ่งถูกตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ผลกว่า 12 ชนิด ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด และไม้ดอกเมืองหนาวมากกว่า 20 ชนิด สภาพอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส
 

สวนราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่


   


       

       สวนราชพฤกษ์ เชียงใหม่ สวนที่เป็นที่ตั้งจัดงานแสดงสวนต่างๆจากแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวนึงของเมืองเชียงใหม่ที่ให้ท่านได้เข้ามาชมดอกไม้นานาพันธุ์ ได้ถ่ายรูปสวยๆเป็นที่ระลึกกัน ปัจจุบันนี้หลังจากเสร็จจากงานแสดงทางเชียงใหม่ก็ยังดูแลและเปิดให้นักท่องเที่ยวทุกท่านได้เข้ามาเยี่ยมชมกันซึ่งที่ตั้งหาได้ไม่ยากจากสี่แยกหลัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตรงไปทางสะเมิงประมาณ 10 กิโลเมตรจะเจอสี่แยกเลีเยวขวาเข้าไปชมงานกันซึ่งบริเวณนั้นจะมีสถานที่เที่ยวอื่นๆเช่น พระธาตุดอยคำ ไนท์ซาฟารี

สวนสัตว์เชียงใหม่(Chiang Mai Zoo)

  




  สวนสัตว์เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง (Mr.Harold Mason Young) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่พวกทหารและตำรวจชายแดน ในช่วงสงครามเกาหลี ( พ.ศ.2493-2496 ) โดยอาศัยพื้นที่บ้านที่ตนเช่าอยู่คือ บ้านเวฬุวัน เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นของนาย กี นิมมานเหมินท์ ( พ.ศ.2431-2508 ) และนาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ( พ.ศ. 2437-2524 ) เป็นสถานที่เริ่มต้น โดยเริ่มเปิดเป็นสวนสัตว์เล็กๆ ของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ.2495 โดยจ้างคนพื้นเมืองและชาวเขาจำนวนไม่มากนักช่วยดูแล 
       เหตุผลของการสะสมสัตว์ชนิดต่างๆ ของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังจนสามารถจัดเป็นสวนสัตว์ เอกชนขึ้นได้นั้น แม้ไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่คงเนื่องด้วยความรักเมตตาต่อสัตว์เป็นพื้นฐาน และเพื่อศึกษานิสัยอากัปกิริยาต่างๆ ของสัตว์ชนิดต่างๆอย่างใกล้ชิดด้วยเพื่อประโยชน์ ในการประกอบอาชีพ เป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจชายแดน ซึ่งต้องผจญกับสัตว์ป่านานาชนิดเสมอ 
       นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง เป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกันเกิดที่รัฐฉาน ( Shan State ) ประเทศพม่าเคยทำงานในฐานะมิชชั่นนารีในรัฐฉาน ( Shan State )ดินแดนของชาวไต ซึ่งอุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิดมาก่อน และเหตุผลที่ทำให้นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ต้องเข้ามาทำงานในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหารและตำรวจชายแดน ในประเทศไทย ก็คงเนื่องด้วยพันธะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีต่อรัฐบาลไทย ในการสนับสนุนทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ อย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ตาม สนธิสัญญาไทย-อเมริกัน 3 ฉบับ คือ ความตกลงทางการศึกษาและ วัฒนธรรมในเดือนกรกฎาคม 2493 ความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิคในเดือนกันยายน 2493 และความตกลงทางการช่วยเหลือ ทางทหารในเดือนตุลาคม 2493 เป็นต้นมา 
       เพราะปรากฎว่าหลังจากปี พ.ศ.2493 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้จัดส่ง คณะที่ปรึกษา อาสาสมัคร และกำลังสนับสนุนด้านต่างๆเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก เฉพาะด้านทหารและตำรวจนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะที่ปรึกษาทางทหาร ( MAAG ) มาประจำประเทศไทย ใน พ.ศ.2493 ต่อมาขยายเป็นหน่วย JUSMAG เพื่อช่วยวางแผนการจัดกองพล การจัดกรมผสม จัดระบบ ส่งกำลังกองทัพบก ฯลฯ ขณะที่กองกำลังตำรวจขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของ พลตำรวจเอก เผ่า ศรีรานนท์ ก็ได้รับการขยายกำลังออกไปอย่างกว้างขวาง โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุน ผ่านทางบริษัทซี ซัปพลาย( Sea Supply Coporation ) การเข้ามาทำงานในประเทศไทย ในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจตระเวรชายแดนของนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง ก็คงอยู่ในบริษัท ( Context ) ทางการเมืองดังกล่าวนี้ด้วย 
       การสะสมสัตว์นานาชนิดของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ภายในบริเวณบ้านเวฬุวันที่ตนเช่าอยู่นั้น คงมี มากขึ้นๆ และคงสร้างต้องอาศัยพื้นที่ในบริเวณบ้านเวฬุวันมากขึ้นคงทำให้พื้นที่ อันสวยงามของบ้านเวฬุวัน เช่น สนามหญ้าหน้าบ้านถูกใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ไปโดยปริยาย 
       จากคำบอกเล่าของศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ทายาทคนหนึ่งของ นาย กี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ได้ขอให้ นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังผู้เช่าบ้านเวฬุวัน ย้ายสวนสัตว์ของเขาไปไว้ที่ ที่ดินอีกแปลงหนึ่งของนาย กี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ซึ่งอยู่เชิงดอยสุเทพเช่นกันซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ส่วน หนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่คงโดยเหตุที่นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง เป็นชาวอเมริกันประชาชนของประเทศที่ มีอิทธิพลทางการเมืองสูงยิ่งของโลก เขาจึงติดต่อขอที่ดินป่าสงวน เชิงดอยสุเทพ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่โดยตรง 
       จนได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนเชิงดอยสุเทพ ประมาณ 60 ไร่ เป็นที่ตั้งสวนสัตว์ของเอกชน เปิดบริการให้เข้าชมตั้งแต่วันจักรี 6 เมษายน พ.ศ.2500 จนกระทั่งนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ถึงแก่อนิจกรรม ใน พ.ศ.2518 
       องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้พิจารณาเห็นคุณค่าของสวนสัตว์ของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ทั้งในฐานะเป็นแหล่ง พักผ่อนศึกษาสัตว์ของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวแหล่งหนึ่งตามโครงการปรับปรุงดอยสุเทพ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จึงรับกิจการสวนสัตว์ของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ไว้ในความดูแล ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 
       จนกระทั่ง พ.ศ.2520 จึงโอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ วันที่ 16 มิถุนายน 2520 เป็นต้นมา เนื่องนับ ถึง 16 มิถุนายน 2530 สวนสัตว์เชียงใหม่ก็มีอายุครบ 10 ปีเต็ม ในรอบทศวรรษนั้น สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่จากเดิม ที่จังหวัดเชียงใหม่อนุมัติให้นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง จัดตั้งสวนสัตว์ประมาณ 60 ไร่ ได้รับการขยายเป็น 130 ไร่ 
       ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 สวนสัตว์เชียงใหม่ก็ได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ เพิ่มเติมอีกประมาณ 500 ไร่ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสวนสัตว์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนหนึ่งโดยมี ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ เป็นประธานดำเนินงานวางผังหลักกำหนดแนวทางพัฒนาสวนสัตว์เชียงใหม่ ต่อไปในอนาคตอย่างน่าสนใจยิ่ง 
       จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งประเภทตำนาน จารึก และภาพถ่ายทางอากาศยืนยัน ชัดว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนสัตว์เชียงใหม่คือส่วนหนึ่งของ เวียงเจ็ดสิน เวียงโบราณรูปวงกลมที่สร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแก่น กษัตริย์แห่งราชวงค์มังราย ลำดับที่ 8 ( พ.ศ.1945-1984 ) ร่องรอยคูน้ำ คันดินบางส่วนก็ยังปรากฎอยู่ในปัจจุบันซากอิฐจำนวนไม่น้อย ยังคงปรากฎทั่วไปในบริเวณสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยเฉพาะบนเนินเนินเหนือที่เลี้ยงช้าง เป็นกองอิฐก้อนใหญ่มาก เป็นร่องรอยให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับ ทางศาสนา (ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานวัดกู่ดินขาวในปัจจุบัน)



     สวนสัตว์เชียงใหม่ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยวทั้งหลายที่สนใจชิวิตของสัตว์ต่างๆ ซึ่งสวนสัตว์นี้อยู่คู่กับคนเชียงใหม่มานานหลายปี ยินดีต้องรับนักท่องเที่ยวทุกท่านครับ 

ค่าธรรมเนียมสวนสัตว์เชียงใหม่
ค่าธรรมเนียมบัตรผ่านประตูเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่
บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๕๐ บาท
บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย)๑๐ บาท
ค่าธรรมเนียมจอดยานพาหนะ
รถยนต์๕๐ บาท
รถจักรยานยนต์๑๐ บาท
รถจักรยาน๑ บาท
ค่าธรรมเนียมบัตรเข้าชมหมีแพนด้า
บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๕๐ บาท
บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย)๒๐ บาท
ค่าธรรมเนียมเข้าชมศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ "เชียงใหม่ ซู อควาเรียม"
รวมบัตรผ่านประตูหน้าสวนสัตว์และรถบริการเข้าชม (จำนหน่ายหน้าประตูทางเข้าสวนสัตว์)
บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๒๕๐ บาท
บัตรเด็ก สูง 90 -135 เซนติเมตร (ชาวไทย)๑๗๐ บาท
จำนหน่ายหน้าประตูทางเข้าศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ "เชียงใหม่ ซู อควาเรียม"(ไม่รวมค่าธรรมเนียมบัตรผ่านประตูเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่)
บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๒๒๐ บาท
บัตรเด็ก สูง 90 -135 เซนติเมตร (ชาวไทย)๑๖๐ บาท
เวลาเปิดขายบัตรเข้าชม
จันทร์ - ศุกร์9:00 - 17:00 น.
เสาร์ - อาทิตย์9:30 - 17:30 น.
ค่าธรรมเนียมรถบริการชมสวนสัตว์เชียงใหม่
บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๒๐ บาท
บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย)๑๐ บาท
ค่าธรรมเนียมบริการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว
บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๗๐ บาท
บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย)๕๐ บาท
ค่าธรรมเนียมบริการ แอดเวนเจอร์พาร์ค
บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๒๐ บาท
บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย)๑๐ บาท

แผนที่ไปสวนสัตว์เชียงใหม่(Chiang Mai Zoo)



ดู สถานที่ที่ฉันบันทึกไว้ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

น้ำพุร้อนสันกำแพง (Namphuron Sankamphaeng, Chiang Mai)

   น้ำพุร้อนสันกำแพง เป็นสวนดอกไม้ร่มรื่น มีบ่อน้ำแร่ ห้องอาบน้ำและบ้านพัก ได้รับการปรับปรุงโดยความร่วมมือระหว่างการ ท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย และโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงครับ เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนแห่ง ใหม่ใน เขตอำเภอสันกำแพงการเดินทาง จากตัวเมืองไปยังบ่อน้ำพุร้อน ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 34 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 ทางด้วยกัน คือ เส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง สถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้สัก-น้ำพุร้อน (เส้นทางนี้จะผ่านถ้ำเมืองออน ซึ่งอยู่ห่างจากน้ำพุร้อนประมาณ 4 กิโลเมตร) หรือเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง- หมู่บ้านออนหลวย-น้ำพุร้อน ครับ
   
   สำรองที่พักล่วงหน้าที่ ธุรกิจน้ำพุร้อนสันกำแพงหมู่บ้านสหกรณ์ โทร. 0 5392 9077 และรุ่งอรุณรีสอร์ท โทร. 0 5393 9128ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 15 บาท เด็ก บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท เปิดเวลา 9.30-20.00 


แผนที่น้ำพุร้อนสันกำแพง

เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ (Chiang Mai Creative City)




เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ( Chiang Mai Creative City) เป็นการริเริ่มเพื่อพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งหมายถึง เมืองที่ซึ่งวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ผสมผสานเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจและสังคมของเมืองนั้น สำหรับที่ผ่านมา เมืองอื่นซึ่งเคยนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเมืองเหล่านั้นประสบความสำเร็จมากกว่า (ในการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนา) เมืองที่ไม่ได้นำยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปใช้
การริเริ่มครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาเมือง การศึกษา การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ตลอดจนการร่วมมือ ผู้มีส่วนร่วมบางส่วนได้เน้นความสำคัญในภาคไอทีซอฟต์แวร์ และส่วนดิจิตอล เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการเติบโตอย่างสำคัญ และเป็นตัวเปิดทางให้แก่ภาคอื่น ยิ่งไปกว่านั้น ภาคไอทีนี้ยังมีศักยภาพสูงในการก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่ม และดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติม
สำหรับภาคสำคัญที่มีอยู่แล้ว อย่างเช่น การท่องเที่ยว (เช่น การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์) หัตถกรรม (เครื่องประดับ เครื่องเงิน เซลาดอน เครื่องปั้นดินเผา และสิ่งทอ) อาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร และการสาธารณสุข ยังเป็นหนึ่งในเป้าหมาย และสามารถยกระดับขึ้นโดยใช้การออกแบบ กระบวนการ ไอที นวัตกรรมบนเทคโนโลยี และการคิดสร้างสรรค์ได้

จังหวัดเชียงใหม่ (Chiang Mai)



จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ และมีจำนวนประชากรประมาณ 1.63 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ
จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในระดับสูง มีศักยภาพในการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการลงทุน จนเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ รองจากกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณ มีภาษาล้านนา (คำเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกับจังหวัดอื่น ๆ ทั้งด้านประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม
          ในปี 2553 ผู้ว่าจังหวัดเชียงใหม่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองสร้างสรรค์ และทางคณะกรรมการกำลังพิจรนาการสมัครที่ UNESCO เพื่อเป็น เมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จุดท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

ผานกแอ่น(จุดชมพระอาทิตย์ขึ้น) เส้นรุ้ง6  53  25 เส้นแวงที่ 101  4B  12 ตะวันออก     เป็นจุดท่องเที่ยวชมพระ อาทิตย์ขึ้นที่สำคัญ โดยอยู่จากที่พักศูนย์วังกวาง เดินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ ทาง 2 กิโลเมตร ในทุกเช้าของหน้าหนาวจะมีนักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปกันมากและ มักจะมีการชิงทำเลดี ๆ เสมอ สมัยนี้ทางไปมีช้างอาละวาดครับ  ตอนเช้าจะต้องไปพร้อมเจ้าหน้าที่เสมอ ห้ามไปเอง เป็นอันขาด  นอกจากนั้น หากอากาศดีพอ ในช่วงเวลาที่เดินเท้าฝ่าความมืดมาชมพระอาทิตย์ขึ้นนั้น เป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับ เวลาที่พระจันทร์กำลังจะลับขอบฟ้า ด้านตะวันตกนั้นจะได้เห็นภาพสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ
 ผาหมากดูก เส้นรุ้งที่ 16 51 51 เหนือ เส้นแวงที่ 101 47 ตะวันออก  จุดนี้เป็นจุดชมวิว พระอาทิตย์ตกดินที่ใกล้ที่สุด จากที่พักศูนย์วังกวาง ห่างเพียงระยะทาง 2.5 กิโลเมตร หรือจะลัดเลาะริมผามาจากหลังแป ผ่านผาเมษา (ปัจจุบันไม่มีชื่อนี้แล้ว) ไปทางทิศตะวันตก รวมระยะทาง 2.5 กิโลเมตร     ทำเลชมตะวันลับฟ้า ตรงจุดนี้เป็นลานหิน มีร่องแยกลึก ใกล้ ๆ กันนั้นบริเวณใต้ผาจะมีฝูงลิง ไอ้เงี๊ยะ ถ้าโชคดีก็จะได้เห็นมันออกหากินเป็นฝูงตามแถบต้นไม้ติดกับหน้าผา อย่าไปแหย่เชียวนะครับ  ใครที่ไม่มีเวลามากนัก หรือ เดินไปผาหล่มสักไม่ไหว หรือ เพิ่งขึ้นจากหลังแป ตัดทางมาชมพระอาทิตย์ตกเลย มักจะเลือกผาหมากดูกแห่งนี้เป็นเป้าหมาย จุดนี้มีร้านอาหารบริการด้วย
ผานาน้อย เส้นรุ้งที่ 16 51 45 เหนือ เส้นแวงที่ 101 40 59 ตะวันออก      ที่ตั้งอยู่ห่างจาก ผาหมากดูก มาทางทิศตะวันตก ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร สามารถเดินเข้ามาจากสระแก้วได้เช่นกัน ระยะห่างราว 2 กิโลเมตร เส้นทางเดินสับสน อาจทำให้หลงทาง มีลานหิน อยู่ริมหน้าผา ผาแห่งนี้จะอยูใกล้เคียงกับหมู่บ้านนาน้อย ตรงเชิงเขา ถ้าอากาศดี ๆ จะมองเห็นภูผาจิต ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว  
ผาเหยียบเมฆ เส้นรุ้งที่ 16 51 31 เหนือ เส้นแวงที่ 101 46 09 ตะวันออก     อยู่ห่างจากผานาน้อยราว 2 กิโลเมตร ลักษณะเป็นลานหินขนาดใหญ่พอสมควร หน้าผาสูงชัน มองทิวทัศน์ได้ไกล ข้างล่างเป็นป่าไผ่ ในบางหน้าถ้าเงี่ยหูฟังให้ดีอาจได้ยินเสียงช้างแหวกป่าไผ่อยู่ด้านล่าง โดยมากมักเป็นจุดแวะกลางทางบนเส้นทางเลียบผาสู่ ผาหล่มสัก  
 ผาแดง เส้นรุ้งที่ 16  51  23 เหนือ เส้นแวงที่ 101  45  07 ตะวันออก  อยู่ระหว่างผาเหยียบเมฆกับผาหล่มสัก ตรงนี้สามารถเดินลัดเลาะออกมาจากน้ำตกถ้ำสอเหนือได้เช่นกัน แต่ไม่แนะนำให้เดิน เพราะเส้นทางไม่ชัดเจน ตรงผาแดงนี้ สามารถเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้เช่นกันแต่ทำเลสู้ผาหล่มสักไม่ได้ และในหลายเดือนจะไม่เห็นตะวันตกดินจากจุดนี้ อย่างไรก็ตามในหน้าท่องเที่ยวที่ทุกคนแห่กันไปเต็มผาหล่มสัก จุดนี้ก็นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเช่นกัน  

 ผาหล่มสัก(จุดชมพระอาทิตย์ตก) เส้นรุ้งที่ 16 51 29 เหนือ เส้นแวงที่ 101 43 47 ตะวันออก ถ้าไม่มาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่ ก็เหมือนไม่ได้มาเยือนภูกระดึง หลายคนงกับออกปากไว้แบบนั้น ตัวผาหล่มสักอยู่ห่างจากผาแดง 2.5 กิโลเมตร หรือ 2.5 กิโลฯเช่นกันหากเดินมาจากแยกศูนย์โทรคมนาคมกองทัพอากาศ บนเส้นทางน้ำตก แต่ถ้าเดิน จากที่พักศูนย์วังกวาง จะมีระยะประมาณ 9 กิโลเมตร หากจะมาต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะขากลับจะมืดกลางทาง อย่างแน่นอน แผ่นหินแปลกตากับโค้งกิ่งสนที่รองรับกัน จะใช้เป็นจุดชมวิวดูดวงอาทิตย์ตกดิน และน่าจะถือได้ว่าเป็นภาพที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของอทยานแห่งชาติภูกระดึง ในช่วงที่ มีนักท่องเที่ยว มามากจะมีการเข้าคิวเพื่อถ่ายรูป ที่ผาหล่มสักจะมีร้านอาหารเปิดบริการอยู่หลายร้าน สามารถติดต่อให้ทำ โคมไฟ จากเทียนไข และขวดน้ำ เพื่อใช้เวลาเดินทางกลับได้ น่าเสียดาย ลานหินริมหน้าผา ปรากฏร่องรอยการแกะสลักหินทรายริมผาของนักท่องเที่ยวเป็นชื่อคน ชื่อสถาบันอยู่เต็มไปหมด เพื่อน ๆ เห็นใครทำ ช่วยกันตักเตือนห้ามปรามด้วยนะครับ

ที่ตั้งและการเดินทาง

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
หมู่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย  42180
โทรศัพท์ : 0 4287 1333, 0 4287 1458   โทรสาร : 0 4287 1333


รถยนต์
เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง
1) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
2) ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่านและตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
3) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2

เครื่องบิน
เดินทางโดยเครื่องบิน โดยใช้เที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ขอนแก่น กรุงเทพฯ-เลย กรุงเทพฯ-อุดรธานี ของสายการบินต่างๆ สอบถามข้อมูลเที่ยวบินและสายการบิน โทร. 0-2628-2000, 0-2515-9999, 0-2267-2999 และ 1318

รถไฟ
เดินทางโดยรถไฟ ขึ้นรถไฟที่ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟขอนแก่น ต่อรถโดยสารสายขอนแก่น-เลย ถึงอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเข้าอุทยานฯ สอบถามข้อมูลรถไฟ โทร. 0-2225-1300 ต่อ 5201 ,02223-0341-3

รถโดยสารประจำทาง
เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) สายกรุงเทพ-เมืองเลย

พรรณไม้และสัตว์ป่า


                           
สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น 

ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก 

ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น 

ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด 

ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น 

ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ 

ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

   ลักษณะภูมิประเทศ  สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น 
   ลักษณะภูมิอากาศ  ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี  ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้ 
   ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี  เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี  
   พืชพรรณและสัตว์ป่า  สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น  ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก 
ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น 
   ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด 
   ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น 
   ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ 
   ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ เต่าหาง เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว 
   ข้อห้ามต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ห้ามก่อไฟ  เพื่อช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม มิให้ถูกทำลายลงไปอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จึงห้ามมิให้นักท่องเที่ยวเก็บกิ่งไม้มาเพื่อทำการก่อไฟ หรือกระทำการอื่นใด ที่เสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำอาหารขึ้นไปประกอบและหุงต้มเอง ขอให้จัดเตรียมเตาแก๊สขึ้นไปด้วย และประกอบการหุงต้มภายในบริเวณที่จัดไว้ให้เท่านั้น 
   ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเขา  นักท่องเที่ยวท่านใดนำสัตว์เลี้ยงมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของท่านซึ่งอาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่สัตว์ป่า และทำร้ายนักท่องเที่ยว ขอให้นำสัตว์เลี้ยงหรือสุนัขของท่านไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจทางเข้าอุทยานฯ ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง 
   ห้ามนำโฟมเข้าในเขตอุทยานแห่งชาติ  อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ห้ามมิให้นำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการลดปริมาณมลพิษและขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งดำเนินการตามประกาศกรอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2546 เรื่อง ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ 
   สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องสุขารวม/ห้องอาบน้ำ  มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบนยอดภูกระดึง
   ที่พักแรม/บ้านพัก  มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง 
   สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์  อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อจองเต็นท์กับทางอุทยานได้ในวันที่มาถึง ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน<เชิงเขา>เท่านั้น สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 150-500 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น  - เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 150 บาท/คืน - เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 225 บาท/คืน - เต็นท์ ขนาด 4 คน ราคา 300 บาท/คืน - เต็นท์ ขนาด 5 คน ราคา 500 บาท/คืน 
หมายเหตุ:ราคาไม่รวม ชุดเครื่องนอน 
   สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง (หรือในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานเต็มและต้องไปเช่าเต็นท์บนยอดเขา) - ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30/คน/คืน - เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 12 ปี จะไม่ได้ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่าเครื่องนอนทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีไว้บริการดังนี้ - ถุงนอน อัตราการเช่า 30 บาท/คืน/ถุง - ที่รองนอน อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/อัน - หมอน อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ใบ - ผ้าห่ม อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน - ผ้าห่มอย่างหนา อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/ผืน - เสื่อ อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน
   ที่จอดรถ  มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว 
   บริการอาหาร  เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับบริการที่ดี ทั้งคุณภาพอาหารและเครื่องดื่ม หากพบว่าไม่สะอาด ราคาไม่เป็นธรรม หรือมีการปลอมปน ขอให้นักท่องเที่ยวแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหรือโทรศัพท์หมายเลข 0-4287-1333 เพื่อดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายต่อไป สำหรับร้านอาหารและร้านจำหน่ายของที่ระลึกนั้น มีไว้คอยบริการตามจุดต่างๆ ดังนี้ 1. บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน (เชิงเขา) 2. ระหว่างทางเดินขึ้นเขา บริเวณซำแฮก ซำกอซาง ซำกกโดน และซำแคร่ 3. บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง (ยอดเขา) และจุดชมทิวทัศน์ต่างๆบนยอดเขา ดังนี้ ผาหมากดูก ผานาน้อย ผาเหยียบเมฆ ผาแดง และผาหล่มสัก 
   ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว   มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น. 
   อุทยานแห่งชาติภูกระดึง หมู่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย 42180 โทรศัพท์ 0 4287 1333, 0 4287 1458 โทรสาร 0 4287 1333

ข้อห้ามต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

ห้ามก่อไฟ
เพื่อช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม มิให้ถูกทำลายลงไปอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จึงห้ามมิให้นักท่องเที่ยว เก็บกิ่งไม้มาเพื่อทำการก่อไฟ หรือกระทำการอื่นใด ที่เสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักท่องเที่ยว ที่นำอาหารขึ้นไปประกอบ และหุงต้มเอง ขอให้จัดเตรียมเตาแก๊สขึ้นไปด้วย และประกอบการหุงต้ม ภายในบริเวณที่จัดไว้ให้เท่านั้น

ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเขานักท่องเที่ยวท่านใดนำสัตว์เลี้ยงมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของท่านซึ่งอาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่สัตว์ป่า และทำร้ายนักท่องเที่ยว ขอให้นำสัตว์เลี้ยงหรือสุนัขของท่าน ไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจทางเข้าอุทยานฯ ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ห้ามนำโฟมเข้าในเขตอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ห้ามมิให้นำภาชนะที่ทำด้วยโฟม เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการลดปริมาณมลพิษและขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งดำเนินการตามประกาศกรอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2546 เรื่อง ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ

ลักษณะภูมิอากาศของภูกระดึง

    
      ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี   ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว 


   หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี  เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี